เครื่องเจาะไม้
เครื่องมือช่าง

ประเภทของเครื่องเจาะไม้ที่ช่างไม้ควรรู้ไว้มีอะไรบ้าง

สำหรับงานเจาะนั้นมักจะเป็นขั้นตอนท้าย ๆ ของการทำงานช่าง ในการเจาะนั้นอาจจะดูเหมือนเป็นการทำงานที่ไม่ยาก แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นขั้นตอนการทำงานที่มีความซับซ้อนที่จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อชิ้นงาน สำหรับงานไม้นั้นการได้ใช้เครื่องเจาะไม้หรือสว่านซึ่งเป็นเครื่องมือช่างที่ใช้สำหรับเจาะชิ้นงานที่เป็นไม้เพื่อให้ได้รูตามที่ช่างต้องการ โดยที่เครื่องมือเจาะหรือสว่านเหล่านี้จะมีประเภทใดบ้าง เราขอนำเสนอ ดังนี้ capitallaboratory

ประเภทของเครื่องเจาะไม้ที่ช่างไม้มือใหม่จะต้องรู้ว่ามีแบบใดบ้าง

สิ่วเดือย ( Mortisel chisel)

สิ่วเดือย ( Mortisel chisel) ใช้สำหรับเจาะร่องรับเดือย ลักษณะพิเศษคือ ดอกสว่าน ใช้เจาะรูได้ตั้งแต่ 1” ขึ้นไป สามารถเจาะได้ถึง 4” เหมาะกับงานเจาะรูกุญแจ และงานท่อน้ำผ่าน

สิ่วทำบัวหรือสิ่วเซาะร่อง

เป็นสิ่วที่ใช้ทำบัว เซาะร่อง เจาะรูกลม หรือแต่งไม้ส่วนที่เป็นโค้ง ใบสิ่วมีลักษณะรูปโค้งเว้า ขนาดใบกว้าง ¼” –2” มักเรียกสิ่วชนิดนี้ว่า สิ่วเล็บมือ

สว่าน (Drills)

การเจาะรูเล็ก ๆ เพื่อนำนอต สกรู หรือตะปูยึดติด อาจจะต้องใช้เครื่องมือเจาะรูที่เรียกว่า “สว่าน” สว่านที่ใช้เจาะมีรูปร่างต่าง ๆ กัน แล้วแต่ชนิดของงานที่ใช้ ดังนี้

  • สว่านข้อเสือ
  • สว่านมือ

สว่านข้อเสือ (Brace drills) ช่างไม้นิยมใช้สว่านเจาะรูปช่วยในการทำรูเดือย ส่วนประกอบของสว่านชนิดนี้มี 3 ส่วนคือ ส่วนหัว (Head) ส่วนมือจับ (Handle) และที่ปรับดอกสว่าน (Chuck)การใช้งานจะหมุนตามเข็มนาฬิกา เพื่อยึดให้แน่น แต่ถ้าจะคลายต้องหมุนไปทางซ้าย สามารถใช้งานได้ทั้งแนวราบและแนวตั้ง

สว่านมือ (Hand drill) หรือสว่านเจาะนำ การเจาะรูชิ้นงานจะเจาะให้เล็กกว่า ¼” สามารถเจาะได้ทั้งงานเหล็กและงานไม้ ลักษณะแตกต่างกับสว่านข้อเสือ ส่วนที่ใช้หมุนดอกสว่านเพื่อยึดชิ้นงานจะใช้ส่วนที่เรียกว่า Crank ถ้าใส่ดอกสว่านไม่ดี ดอกสว่านจะหักง่าย สว่านเมื่อสามารถเจาะได้ทั้งแนวราบ

เหล็กหมาด (Brad awl)

รูปร่างคล้ายไขควงเล็ก ๆ ใช้สำหรับเจาะในเวลาที่จะตอกตะปูหรือตะปูเกลียว วิธีใช้จะกดลงในเนื้อไม้แล้วบิดซ้ายขวา ไม่ควรใช้กับไม้บาง

บิดหล่า (Gimlet bit)

ใช้เจาะรูขนาดเล็ก ๆ ที่ต้องการฝังตะปูควงเข้าไปในเนื้อไม้แข็งมีขนาดตั้งแต่ 1/16” – 3/8”

อุปกรณ์ที่ใช้ควบคู่กันกับเครื่องมือที่เจาะรูที่กล่าวมาแล้ว ถือว่ามีความสำคัญในการเจาะรูที่จะขาดเสียไม่ได้ นั่นก็คือ “ดอกสว่าน” เพื่อความเข้าใจในเรื่องการเจาะให้มากขึ้นจะขออธิบายถึงดอกสว่าน

เทคนิคการเจาะไม้ที่ช่างต้องรู้มีอะไรบ้าง

  • เทคนิคง่าย ๆ ในการเจาะไม้อัด คือก่อนการเจาะควรใช้เหล็กนำศูนย์ตอกนำก่อนทุกครั้ง ป้องกันดอกสว่านเจาะไม่ตรงตำแหน่ง หนีศูนย์ และใช้ Clamp จับชิ้นงานให้แน่น
  • เจาะรูให้มีความลึกเท่ากันทุกรู ด้วยการนำเทปกาวพันรอบดอกสว่านในระยะความลึกที่ต้องการ โดยวัดจากปลายดอกสว่านเข้ามา
  • หากต้องการเจาะทะลุไม้อัด ก็ควรนำวัสดุเรียบมารองด้านล่างที่จะเจาะทะลุด้วย เป็นการป้องกันไม้ฉีก แตก และไม่เรียบเนียน
  • เจาะรูไม้อัดเพื่อใส่สกรู นอต ด้วยการใช้สว่านเจาะรูผ่านตามหัวสกรู เพราะในขณะที่ขันสกรูลงไม้อัด หัวสกรูจะอยู่เสมอระดับผิวไม้พอดี

กฎความปลอดภัยและการบำรุงรักษาเครื่องเจาะที่ผู้ใช้งานจะต้องรู้

ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจาะ

  • ก่อนใช้เครื่องเจาะทุกครั้งจะต้องตรวจดูความพร้อมของเครื่องก่อนใช้เสมอ ถ้าเครื่องชำรุดอาจเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้
  • การจับยึดชิ้นงานจะต้องจับยึดให้แน่นและจะต้องจับให้ถูกวิธี
  • ศึกษาขั้นตอนและวิธีการใช้เครื่องเจาะ และวิธีการทำงานให้ถูกต้อง
  • จะต้องแต่งกายให้รัดกุมถูกต้องตามกฎความปลอดภัย
  • จะต้องสวมแว่นตานิรภัยป้องกันเศษโลหะกระเด็นเข้าตา

การบำรุงรักษาเครื่องเจาะ

ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเจาะชนิดใด ในการบำรุงรักษาก็จะใช้หลักการเดียวกัน  จะต่างกันก็ตรงจุดบำรุงรักษาจะมากน้อยแตกต่างกันไป  ซึ่งวิธีการบำรุงรักษามีดังนี้  คือ

  • จะต้องตรวจสอบระบบไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ตลอดเวลา เมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดชำรุดเสียหายจะต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนให้ใช้ได้ดี
  • จะต้องตรวจสอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา
  • ก่อนใช้งานจะต้องหยดน้ำมันหล่อลื่นในส่วนที่เคลื่อนที่
  • ควรมีแผนการบำรุงรักษาเป็นระยะตามระยะเวลาที่กำหนด เป็นการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
  • หลังจากเลิกใช้งานจะต้องทำความสะอาดและชโลมด้วยน้ำมัน