เลื่อยรอปากไม้
เครื่องมือช่าง

วิธีการใช้งานเลื่อยรอปากไม้สำหรับงานไม้ ใช้งานอย่างไร พร้อมเทคนิคดี ๆ

เลื่อยรอปากไม้ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือช่างที่ใช้สำหรับงานไม้โดยเฉพาะ โดยตัวเลื่อยทำจากเหล็กแบนบางแต่แข็ง บางกว่าเลื่อยลันดา ด้านหนึ่งเป็นฟันเลื่อย อีกด้านหนึ่งคือด้านบนพับหนึบตลอดความยาวของใบเลื่อย เหล็กที่พับหนีบเหล็กใบเลื่อยนี้ปล่อยยื่นเป็น กั่น สำหรับสอดใส่ด้ามหรือมือจับ เครื่องมือช่างนี้ค่อนข้างมีความสำคัญกับช่างมากทีเดียว ซึ่งสำหรับการกลึงด้วยไม้ กลึง กลม ยาวประมาณ 4-5 นิ้ว หรือใช้ด้ามเลื่อยหางหนูหรือเลื่อยขูดซึ่งมีลักษณะเหมือนด้ามเลื่อยลันดาตัวเลื่อยมีรูปคล้ายมีดโต้ ขนาดความกว้างของใบเลื่อยประมาณ 3 นิ้ว ยาวตั้งแต่ 8-12 นิ้ว ฟันละเอียดมากคือ 16 -18 ซี่ต่อความยาวหนึ่งนิ้ว ลักษณะของฟันไม่ควรตั้งมุมฉากหรือมุม 90 องศา

หลักการทำงานของเลื่อยรอปากไม้

ถึงแม้ปัจจุบันนี้เลื่อยรอได้รับความนิยมน้อยลงแต่ก็ยังถือว่ามีบทบาทสำคัญในงานไม้อยู่ เลื่อยรอมีหน้าที่โดยตรงคือ รอปากไม้ ในกรณีที่เข้าไม้ไม่สนิท จะใช้เลื่อยรอเลื่อยลงในช่องว่างระหว่างรอยต่อ หรือรอยปากไม้ เพื่อต้องการให้ปากไม้เป็นเส้นขนาน เมื่อใช้แม่แรง อัดปากไม้ที่ใช้เลื่อยรอแล้ว ปากไม้จะปิดสนิทมิดชิด ซึ่งเป็นหลักและวิธีการเข้าปากไม้  เครื่องมือช่างที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีเครื่องมือกลไฟฟ้า แต่เลื่อยรอก็ยังถูกใช้อยู่เนื่องจากมีความสะดวกและกะทัดรัด ในการใช้งานนับเป็นเครื่องมือช่างที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว

วิธีการเลือกซื้อเลื่อยให้ตรงกับความต้องการ

  1. ควรดูลักษณะการใช้งานของเราก่อนครับ ว่าเหมาะที่จะใช้เลื่อยกับงานประเภทใด เช่น ถ้าต้องการตัดงานฝีมือ มีลวดลายคดเคี้ยว เราก็ควรที่จะเลือกเลื่อยฉลุหรือเลื่อยหางหนู หรือเราต้องการใช้เลื่อยในการเลื่อยไม้ที่มีขนาดใหญ่ เช่นท่อนไม้ เราก็ควรใช้เลื่อยโครงเหล็กหรือเลื่อยคันศร
  2. ถ้าเรามีความต้องการใช้เลื่อยที่ใช้งานได้กว้างขวาง สำหรับการตัดไม้ทั่ว ๆ ไป ควรที่จะเลือกเลื่อยลันดาหรือเลื่อยลอครับ ซึ่งสามารถตัดไม้ได้ทั้งแบบขวางเสี้ยนไม้ และตามเสี้ยนไม้
  3. การเลือกลักษณะฟันเลื่อย ควรเลือกแบบที่เป็นฟันถี่พอสมควร จะได้ผิวการตัดที่ละเอียด ไม่แตกหยาบ
  4. ขนาดของคันเลื่อย หรือตัวเลื่อย ควรจะเลือกขนาดที่มีความเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งเลื่อยมีหลายขนาดโดยหน่วยจะเป็นนิ้ว ควรทดลองจับท่าเลื่อยดูว่าเหมาะสมกันหรือไม่

วิธีการใช้เลื่อย

  1. ใช้ฉาก มาทำการวัดแนวที่จะตัดหรือเลื่อยไม้ แล้วใช้ดินสอขีดเส้นลงบนเนื้อไม้
  2. จับเลื่อยด้วยมือที่ถนัด โดยจับที่คันเลื่อย หรือใช้มือจับชิดกับเหล็กหูเลื่อย
  3. อย่าเกร็งมือที่ใช้จับเลื่อยและไม่ควรกดน้ำหนักลงบนเลื่อย มือทำหน้าที่บังคับโครงเลื่อยให้อยู่ในสภาพที่ถูกต้องเท่านั้น
  4. วางไม้ส่วนที่จะตัดให้ยื่นเลยขอบพื้นที่ใช้รองไม้ ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดจับไม้กดไว้กับพื้นที่ใช้รองอย่าให้เคลื่อนที่ได้
  5. วางคมเลื่อยลงตรงริมตำแหน่งที่จะตัดไม้ด้านตรงข้ามกับด้านผู้ตัดยืน ยื่นหัวแม่มืออีกข้างที่กดไม้ไปวางตรงเส้นดินสอที่ขีดตำแหน่งที่จะเลื่อย เพื่อเป็นแนวหรือตำแหน่งที่จะตัด หรือทำหน้าที่บังคับให้ใบเลื่อยวางเอียงประมาณ 45-50 องศา
  6. ดึงโครงเลื่อยขึ้นข้างบนก่อนเบา ๆ แล้วจึงดันโครงเลื่อยลงข้างล่าง ดึงคันเลื่อยให้สุดความยาวของใบเลื่อย
  7. มือจับคันเลื่อย อยู่ในลักษณะที่หงายมือขึ้น กำคันเลื่อยโดยให้นิ้วทั้ง 4 นิ้ว อยู่ใต้คันเลื่อยหัวแม่มือวางบังคับอยู่ด้านบน
  8. คันเลื่อยเบนออกไปทางด้านขวามือประมาณ 45 องศา  เพราะใบเลื่อยทำมุม 45 องศากับคันเลื่อย ( มือจับ) เพื่อให้ไม้ที่ผ่าลอดเข้าไปในช่องระหว่างใบเลื่อยกับอกเลื่อยได้
  9. บังคับให้ทุกส่วนของเลื่อยอยู่ในระดับที่คงที่ทั้งแนวตั้งและแนวนอน เมื่อไม้เกือบจะขาดออกจากกันให้ละมือที่จีบไม้อยู่นั้นเอื้อมไปจับไม้ส่วน ที่จะตัดออก ไม่ปล่อยให้ตกลงบนพื้นโดยลำพัง ทั้งนี้เพื่อกันไม่ให้ไม้ส่วนที่เลื่อยใกล้ขาดนั้นฉีก พร้อมทั้งลดน้ำหนักของเลื่อยลงชะลอความถี่ของการเลื่อยลงช้า ๆ ก่อนไม้ขาดจาก กัน
  10. สำหรับการตัดไม้ให้มีขนาดเท่ากันสามารถทำได้โดยวัดขนาดและขีดเส้นแนวการตัด สำหรับการเลื่อย จับชิ้นงานให้ติดกันและวางใบเลื่อยให้อยู่ด้านที่ต้องการตัดทิ้ง
  11. การเลื่อยฝ่าไม้ตามแนวยาววัดขนาดและตีเส้นแนวการเลื่อยแล้วเลื่อยตามแนวไป เรื่อย ๆ ให้นำไม้ลิ่มมาแทรกระหว่างร่องเลื่อยเพื่อไม่ให้ไม้หนีบใบเลื่อยขณะเลื่อย
  12. เวลาเลื่อยให้ใช้แคล้มป์จับยึดชิ้นงานเอาไว้ โดยจับชิ้นงานด้านใน เอาด้านที่ต้องการเลื่อยอยู่ด้านนอก

ข้อควรระวัง

การวางเลื่อยให้รอยเลื่อยอยู่ชิดริมเส้นดินสอ เมื่อไม้ขาดแล้วเหลือเส้นดินสอไว้ส่วนหนึ่ง อย่าตัดโดยวางเลื่อยทับเส้นดินสอ เพราะจะทำให้ไม้สั้นกว่าขนาดที่วัดไว้นั่นเอง